การบรรยายผลงานสถาปัตยกรรม

         สถาปัตยกรรมเป็นผลงานทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง เป็นงานออกแบบส่งก่อสร้าง หรืออาคารต่างๆ ซึ่งลักษณะของสถาปัตยกรรมในปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนรูปลักษณ์จากความเป็นแบบศิลปะแห่งแว่นแคว้น หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างในอดีต มาเป็นการผสมผสานแบบอย่างศิลปะหลากหลายแขนง มีการใช้วัสดุใหม่ๆ ตามวิทยาการที่ทันสมัย โดยเฉพาะการนำคอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้เป็นโครงสร้างหลักที่ซ่อนอยู่ภายในรูปทรง เพื่อให้ผลงานสถาปัตยกรรมมีความมั่นคง แข็งแรงทั้งนี้ ถ้าเรามองงานสถาปัตยกรรมจะเห็นเป็นภาพของรูปทรงต่างๆ เช่น รูปทรงกลม รูปทรงเหลี่ยม รูปโดม เป็นต้น ที่มองเห็นภายนอก แต่ภายในสิ่งก่อสร้างจะเป็นพื้นที่ว่าง ซึ่งสถาปนิกออกแบบไว้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย
         การบรรยายผลงานสถาปัตยกรรมในที่นี้จะวิเคราะห์ถึงจุดประสงค์ของศิลปินในการออกแบบรวมไปถึงเนื้อหาของผลงาน ซึ่งจะขอกล่าวเป็นภาพเพื่อให้เข้าใจแนวคิด จินตนาการของศิลปินผู้สร้างสรรค์

         สำหรับคำศัพท์ทางทัศนศิลป์ด้านสถาปัตยกรรม จะใช้เฉพาะด้านสุนทรียภาพของงานออกแบบ แรงบันดาลใจที่ใช้ในงานออกแบบ โดยพิจารณาในมุมมองของผู้ชม การบรรยายจะหลีกเลี่ยงคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในทางวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็นตัวโครงสร้าง การรับน้ำหนัก หรือวัสดุที่ใช้



ตัอย่างการบรรยายผลงานสถาปัตยกรรมที่ 1    โบสถ์ นอเทรอดาม ดูโอต์
โบสถ์นอเทรอดามดูโอประเทศฝรั่งเศสเป็นผลงานสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่ติดหนึ่งใน 10 โบสถ์ของศาสนาคริสต์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีความสวยงามของโลกออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ ชาร์ล เอดูอาร์ จาเนอเร กรี
ประวัติของชาร์ล เอดูอาร์ จาเนอเร กรี
เกิด 6 ตุลาคมค.ศ. 1997 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ภายหลังโอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส
การศึกษาได้รับการศึกษาทางด้านทัศนศิลป์จากโรงเรียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก่อนที่จะไปศึกษาต่อทางด้านจิตรกรรมที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสรวมทั้งได้มีโอกาสทำงานสร้างประสบการณ์กับสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสอีกหลายท่าน
เกียรติประวัติ - ออกแบบแผนเมืองแนวใหม่ที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและมีการแบ่งแยกการใช้ประโยชน์ในแต่ละโซนไม่ให้ประพลกัน
- คิดค้นระบบการออกแบบอาคารที่สัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์
- สร้างแนวคิดการออก แบบอาคารที่ใช้ทางความงามทางทัศนศิลป์มีจินตนาการแต่ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

จุดประสงค์ของศิลปิน เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศาสนสถานและเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับลักษณะของโบสถ์ในศาสนาคริสต์จึงมีการออกแบบตัวโหวตให้สื่อถึงจิตวิญญาณของความเป็นคริสต์ขณะเดียวกันก็ให้มีรูปทรงที่ตัดด้วยเส้นขอบฟ้าที่สามารถมองเห็นได้จากทั้ง 4 ด้านของเนินเค้า
เนื้อหาของผลงาน สถาปัตยกรรมชิ้นนี้ได้นำ ลักษณะรูปทรงของสิ่งมีชีวิตมาใช้โดยให้ความสำคัญกับเส้นโค้งอันลดเลี้ยว แสดงออกถึงความคิดด้านการจัดวางที่ให้คุณค่ารูปทรงของสิ่งมีชีวิตโดยใช้กระบวนการของการสกัด ลด ตัดทอนรูปทรงของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแบบรูปธรรมมาสู่รูปทรงแบบนามธรรมโดยเฉพาะหลังคาของอาคารที่มีลักษณะโค้งมนและลักษณะพื้นผิวที่สื่อถึงลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีการเปิดผิวของผนังโบสถ์เป็นช่องหน้าต่างนึกอีกหลายช่องหลายขนาดทำให้ผนังดูแปลกตาเกิดนิติช่วยให้แสงที่สาดส่องเข้าไปในอาคารเป็นแสงที่นุ่มนวลดูอบอุ่น
การออกแบบ เน้นการออกแบบรูปทรงที่มีความเป็นเอกภาพโดยเฉพาะการใช้เส้นโค้งนำสายตาตัวโบสถ์กลมกลืนเข้ากันได้ดีกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ล้อมรอบ รวมทั้งจะปล่อยพื้นที่ว่างๆ รอบตัวโบสถ์ไม่ให้มีสิ่งใดมาบดบังความงดงามทำให้บุตรมีความโดดเด่นการเข้าไปประกอบพิธีกรรมในโบสถ์แห่งนี้จึงน่าจะเป็นประสบการณ์ที่ตรึงใจของศาสนิกชนอย่างที่ผู้ออกแบบคาดหวังไว้



ตัอย่างการบรรยายผลงานสถาปัตยกรรมที่ 2  วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงรายเป็นผลงานการออกแบบและดูแลการก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพัฒน์  ศิลปินที่มีชื่อเสียงจากการสร้างสรรค์ผลงานจากการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยประยุกต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ได้ทำการบูรณะวัดร่องขุ่นที่เดิมมีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้เปลี่ยนสภาพมาเป็นวัดใหม่ที่มีความงดงามด้วยผลงานทัศนศิลป์
ประวัติของเฉลิมชัย โฆษิตพัฒน์ 
เกิด    15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 จังหวัดเชียงราย
การศึกษา       ศิลปะบัณฑิต จิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
เกียรติประวัติ     -   รางวัลที่ 1 เหรียญทองจากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 3
       -   รางวัลเกียรตินิยมอันดับสามการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 25
      -   บุคคลตัวอย่างผู้สร้างเสริมงานวัฒนธรรมด้านจิตรกรรมสำนักงานคณะกรรมการ      วัฒนธรรมแห่งชาติ
      -   โล่เชิดชูเกียรติเพชรสยามสาขาจิตรกรรมจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม
      -  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์จิตรกรรมประจำปีพ.ศ. 2554
จุดประสงค์ของศิลปิน  ต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานพุทธศิลป์ยิ่งใหญ่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิน เพื่อตอบแทนคุณพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นงานศิลปะประจำรัชกาล และแสดงความงดงามของศิลปะไทยสู่มวลชนมนุษยชาติทั้งโลก จึงออกแบบวัดร่องขุ่นให้มีความงดงาม มีรูปลักษณ์แปลกตาแตกต่างไปจากที่เคยสร้างกันมา โดยมีการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยกับศิลปะล้านนาเข้าไว้ด้วยกัน
เนื้อหาของผลงาน  เป็นงานสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยออกแบบสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ตามคตินิยมเป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ตัวพระอุโบสถและส่วนประกอบต่างๆ ในบริเวณวัดถูกออกแบบให้มีลักษณะเส้นและลวดลายแบบศิลปะไทยรวมทั้งการสร้างการเลือกใช้สีและชนิดของวัตถุก็มีคติธรรมแทรกอยู่
      ลักษณะเด่นของผลงาน  เมื่อมองดูโดยรวมจะเห็นความงดงามอ่อนช้อยของลวดลายที่ประดับอยู่บนรูปทรงของสิ่งต่างๆ และสีขาวของพระอุโบสถที่ดูเสมือนเกร็ดเพชร ส่องประกายทำให้เห็นเป็นพื้นผิวระยิบระยับเมื่อต้องแสงอาทิตย์ตัดกับฉากหลังที่เป็นสีฟ้าของบรรยากาศโดยรอบ
การออกแบบผลงาน  จะเห็นได้อย่างเด่นชัด ทั้งด้านความเป็นเอกภาพ ความสมดุล และความกลมกลืน มีทั้งเอกลักษณ์ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่นและมีความงดงามดูแล้วเกิดสุนทรียภาพและความศรัทธา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น