การบรรยายผลงานภาพพิมพ์


    ภาพพิมพ์เนผลงานที่ศิลปินคิดและสร้างสรรค์ขึ้นมาในลักษณะที่เรียกว่‘‘ภาพพิมพ์วิจิตรศิลป์’’ ผลงานทัศนศิลป์ประเภทนี้ต้นแบบจะมีหลายภาพ เพราะเป็นภาพพิมพ์น้ำ ออกมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน ถึงแม้จะพิมพ์ออกมาจำนวนมาก แต่ทุกภาพถือเป็นต้นแบบด้วยกันทั้งสิ้น จะมีความแตกต่างจากผลงานทัศนศิลป์ประเภทอื่น ที่งานต้นแบบจะมีเพียงชิ้นเดีย;

      ในการบรรยายผลงานทัศนศิลป์ประเภทภาพพิมพ์ จะเน้นให้เข้าใจจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินและเนื้อหาที่อยู่ในผลงาน สิ่งแรกที่ควรพิจารณาก็คือ เทคนิค วิธีการที่ศิลปินนำมาใช้ เพราะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อมองดูที่ผลงาน เมื่อทราบถึงเทคนิคที่ศิลปินใช้แล้วก็สามารถเชื่อมโยงไปถึงรูปแบบของผลงานว่ามีรูปแบบอย่างไร เป็นศิลปะรูปลักษณ์ ศิลปะไร้รูปลักษณ์ หรือศิลปะกึ่งรูปลักษณ์

       ถ้าเป็นศิลปะรูปลักษณ์ หรือภาพเหมือนจริง ก็ไม่ต้องตีความมากและจะทราบเนื้อหาที่ศิลปินต้องการนำเสนอได้โดยไม่ยากนัก ทั้งนี้ ควรบันทึกสิ่งที่ปรากฎเห็นได้ชัดไปก่อน ส่วนคำศัพท์ที่ใช้ในการบรรยาย ต้องใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจน ไม่ทำให้เกิดการตีความในภาษา
        ส่วนการบรรยายผลงานทัศนศิลป์ประเภทภาพพิมพ์ที่เป็นรูปแบบกึ่งไร้รูลักษณ์ หรือศิลปะกึ่งนามธรรม บางส่วนสามารถจะตีความได้ไม่ยาก เพราะศิลปินมักใช้คามเป็นจริงที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้ธรรมชาติมาเป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อเนื้อหา แต่บางส่วนก็ต้องอาศัยการตีความว่าศิลปินต้องการจะสื่อถึงอะไร

        สำหรับผลงานทัศนศิลป์ประเภทภาพพิมพ์ที่เป็นรูปแบบไร้รูปลักษณ์ หรือนามธรรม แม้บางภาพชื่ออาจจะชัดเจนมากพอที่จะใช้เป็นแนวในการทำความเข้าใจได้ แต่ก็ยังเป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องใช้คามคิด จินตนาการช่วยเสริมอยู่มาก ในประเด็นนี้ผู้บรรยายไม่ต้องกังล่าจะตีคามหมายไม่สอดคล้องกับแนวคิดของศิลปิน เนื่องจากศิลปะไร้รูลักษณ์ หรือศิลปะนามธรรมนั้น มีเป้าหมายอย่างหนึ่งก็คือ ต้องการให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมในการคิดฝัน แต่ละคนอาจจินตนาการตรงกัน หรือแตกต่างกันออกไปคนละทิศละทาง ทั้งนี้ ในการบรรยายผลงานทัศนศิลป์ประเภทภาพพิมพ์ที่เป็นศิลปะไร้รูปลักษณ์ ข้อมูลส่วนหนึ่งที่สามารถจะบรรยายได้ ก็พิจารณาจากสิ่งที่มองเห็นอยู่ในภาพ โดยเฉพาะองค์ประกอบของทัศนธาตุ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว และอื่นๆ ตลอดจนเทคนิคที่ใช้และความสอดคล้องกับการออกแบบตามหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

ตัอย่างการบรรยายผลงานภาพพิมพ์ที่ 1 อาบน้ำให้เจ้าทุย

ภาพพิมพ์แกะไม้ผลงานของ ประพันธ์ ศรีสุตา เทคนิคการแกะโน๊ตลงบนไม้แล้วนำไปพิมพ์ในลักษณะภาพพิมพ์อยู่นูนโดยเลือกใช้สีขาวและสีดำเพื่อเน้นให้ผลงานมีความโดดเด่นแต่ดูเรียบง่าย

ระวัติประพันธ์ ศรีสุตา

เกิด 17 กรกฎาพ.ศ. 2482 จังหวัดลำพูน
การศึกษา ศิลปบัณฑิตจิตรกรรมจิตรกรรมประติมากรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร
เกียรติประวัติ - รางวัลเกียรตินิยม อันดับสามเหรียญทองแดงประเภทภาพพิมพ์ - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 12 - 13 - รางวัลครั้งที่หนึ่งภาพพิมพ์การประกวดศิลปะของวังสวนผักกาดครั้งที่หนึ่ง
จุดประสงค์ของศิลปิน ต้องการแสดงความผูกพันระหว่างชาวนากับควายศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตที่เรียบง่ายในชนบท จึงใช้ควายกับเด็กเลี้ยงควายมาเป็นสื่อรูปแบบของผลงานทัศนศิลป์เป็นศิลปะรูปรักที่สื่อความหมายโดยตรง
เนื้อหาของผลงาน รูปเด็กที่เป็นบุตรหลานของชาวนากำลังอาบน้ำให้เจ้าทุย ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวนาแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับควายรวมทั้งสะท้อนวิถีชีวิตชนบทไทยได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
รูปทรงและท่าทางการเคลื่อนไหวมีความเป็นธรรมชาติเส้นมีความคมชัดศิลปินเลือกใช้สีขาวและสีดำมาแสดงในผลงานเพื่อสะท้อนบรรยากาศของความปกติเรียบง่ายเข้ากับเรื่องราวที่ต้องการสื่อส่วนที่เป็นเรื่องราวของภาพจะแสดงด้วยสีดำ พื้นจะปล่อยเป็นพื้นที่ว่างสีขาวไว้มาก แต่ก็ทิ้งร่องรอยการแกะไว้ไม่ให้เรียบไปทั้งหมดทั้งนี้ศิลปินจะใช้ความอ่อนแก่ของสีขาวสีเทาและสีดำอันเกิดจากเส้นที่แกะถักทอประสานกันทำให้ภาพดูมีมิติรวมทั้งภาพก็แสดงสัดส่วนสมจริงตามระยะใกล้ไกลอย่างถูกต้องเป็นธรรมชาติ
การออกแบบผลงาน มีทั้งด้านความเป็นเอกภาพความกลมกลืนและความสมดุลกล่าวคือเรื่องราวและส่วนประกอบในภาพเข้ากันได้อย่างมีเอกภาพอริยาบทของเด็กทั้งสามคนคนที่ ต่างหันหน้าและมุ่งหมายไปยังกลุ่มของเจ้าทุยทำให้ทิศทางไม่กระจายออกเรื่องราวที่ปรากฏใจอยู่ตรงกลางค่อนไปทางด้านขวาของภาพศิลปินจึงถ่วงดุลด้วยภาพของเด็กทางซ้ายและลอมฟางด้านบนทำให้ภาพมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

ตัอย่างการบรรยายผลงานภาพพิมพ์ที่ 2 ความรักของแม่
ถ้าพิมพ์แกะไม้ผลงานของประหยัดพงษ์ดำเทคนิคการแกะนูนลงบนไม้แล้วนำไปพิมพ์เป็นภาพพิมพ์ผิวนูนโดยใช้สีอย่างหลากหลายลักษณะของผลงานมีความเป็นเอกลักษณ์มีการจัดวางองค์ประกอบของภาพที่เรียบง่ายแต่ดูโดดเด่น

ระวัติประหยัด พงษ์ดำ
เกิด 28 ตุลาคมพ.ศ. 2477 จังหวัดสิงห์บุรี
การศึกษา ศิลปะบัณฑิตจิตรกรรมคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
เกียรติประวัติ - รางวัลภาพจิตรกรรมจากแคว้นบาซาโน แคว้นกูบิโอประเทศอิตาลี
- ศิลปินเกียรติยศสาขาภาพพิมพ์สถาบันศิลปะเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
- อดีตคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ศิลปินชั้นเยี่ยมในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติในประเทศไทยหลายครั้ง
- ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสาขาทัศนศิลป์สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ภาพพิมพ์ประจำปีพ.ศ. 2541
จุดประสงค์ของศิลปิน ต้องการสื่อถึงความรักความผูกพันของแม่และลูกเป็นเรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์รูปแบบทางทัศนศิลป์เป็นศิลปะรูปลักษณ์คือใช้รูปทรงที่เหมือนจริงตามธรรมชาติและเป็นสื่อ
เนื้อหาของผลงาน เป็นรูปแม่และลูก กำลังอบกอดเป็นหนึ่งเดียวกันโดยศิลปินได้เลือกใช้ภาพของเด็กวัยยาวแถมภาพเด็กทารกการจัดวางองค์ประกอบภาพเน้นภาพแม่และลูกเป็นจุดเด่นและปล่อยพื้นที่ว่างรอบรอบเป็นบรรยากาศที่ช่วยเสริมให้ลูกกับพื้นตัดกันรูปร่างของภาพจะใช้เส้นหนาเน้นความงามได้มเชิงเส้นโดยไม่ต้องมีรายละเอียดบางส่วนของภาพก็จะใช้จุดแทนทำให้ดูโดดเด่นขึ้นนอกจากนี้การเลือกใช้สีก็ดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อนมีการปล่อยพื้นที่ว่างลงในภาพทำให้ดูแล้วไม่อึดอัด
การออกแบบผลงาน เรื่องราวและองค์ประกอบต่างๆรูปร่างรูปทรงถูกจัดวางอย่างเป็นเอกภาพเข้ากันได้ดีและมีความสมดุล โดย. สนใจจะอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของภาพพอดีและทิศทางของภาพแม่แล้วลูกที่หันหน้าเข้าหากันเป็นการทวงน้ำหนักให้สมดุลการเลือกใช้สีในภาพนอกจากจะให้ความกลมกลืนแล้วยังเน้นรูปทรงให้เด่นชัดขึ้นอีกด้วย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น